กลายเป็นที่ฮือฮา ! ไม่น้อยเลย สำหรับ การพบ พบปลาหมึก 3 ชนิดใหม่ครั้งแรกในน่านน้ำไทย
โดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับทีมงานจากภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
“ปลาหมึกเป็นสัตว์กินเนื้อ อาศัยอยู่ในน้ำเค็ม ในประเทศไทยขณะนี้สำรวจพบสายพันธุ์ปลาหมึกประมาณ 80 ชนิด
ในทางวิชาการถือว่าปลาหมึกเป็นสัตว์กลุ่มหอยโดยทางสรีระวิทยา
แต่ในส่วนของพฤติกรรมจะคล้ายกับสัตว์จำพวกปลา ด้วยมีความว่องไว
สามารถเคลื่อนที่ได้เร็ว ในทางวิชาการถือว่าปลาหมึกเป็น Climax of invertebrate evolution หมาย
ถึงสัตว์ที่เป็นสุดยอดของวิวัฒนาการในสัตว์ ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง
เพราะว่าสติปัญญาของปลาหมึก มีการพัฒนาเทียบเท่าได้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
เมื่อเทียบแล้วก็มีความฉลาดเท่ากับสุนัข ปลาหมึกทั่วไปจะไม่มีพิษร้ายแรง
แต่จะมีเพียงกลุ่มเดียวที่มีพิษถึงตาย คือ ปลาหมึกสายวงฟ้า
ซึ่งพบในน่านน้ำไทยด้วย”
ปลาหมึก 3 ชนิดที่พบ มีดังนี้
ปลาหมึกลายเสือ mimic octopus, Thaumoctopus cf. mimicus Norman and Hochberg, 2005 เป็นการรายงานจากภาพถ่ายเป็นครั้งแรก ซึ่งพบบริเวณเกาะสาก จ.ชลบุรี
ปลาหมึกสายลายเสือมีขนาดความยาวลำตัวสูงสุด 58 มม. และความกว้างเมื่อเหยียดหนวดทั้งสองออก 600 มม. ลำตัวเป็นกล้ามเนื้อบาง มีช่องเปิดของลำตัวกว้าง สีของลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีขีดสีขาวประทั่วตัว มีลายสีขาวรูปตัว U บน
ด้านหลังค่อนไปทางท้ายตัว มีวงแหวนรูปหยดน้ำสีขาวบริเวณกลางหลัง
หนวดสีน้ำตาลเข้มมีแถบสีขาวตามขวาง มีลักษณะผอมบาง
และยาวมากเมื่อเทียบกับลำตัว ไม่มี ocelli หรือตาปลอมสำหรับหลอกศัตรู และมีติ่งเนื้อ (papilla) อยู่เหนือตาทั้งสองข้าง
ปลา
หมึกสายลายเสือ กลายเป็นเป้าหมายยอดนิยมในการเสาะหาของนักดำน้ำทัศนาจร
กิจกรรมดังกล่าว อาจเป็นการคุกคามต่อการดำรงชีวิต และการอยู่รอด
เป็นผลให้ปลาหมึกสายลายเสือตกอยู่ในภาวะเสี่ยง ต่อการสูญพันธุ์ได้ในอนาคต
โดย
ปกติแล้ว ปลาหมึกชนิดนี้ ชอบพลางตัว ตามรูหรือท่อต่างๆ ในท้องทะเล หรือ
บางทีก็อาจจะหลบไปอยู่ใต้น้ำทะเลในระดับลึก เพื่อปกปิด
ซุกซ่อนตัวเองจากนักล่าในท้องทะเล
อย่างไรก็ดี นี่อาจเป็นข้อสรุปได้อย่างหนึ่งว่า ท้องทะเลในไทยมีความสมบูรณ์ในระดับหนึ่ง ทำให้ปลาหมึกชนิดนี้ มาพักอาศัยอยู่ในไทย
ดังนั้นแล้ว อยากฝากถึงหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนทุนวิจัย
และความช่วยเหลืออันเป็นประโยชน์ที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการประมงไทย
และยังเป็นสร้างงาน สร้างความรู้ให้กับเยาวชน
ให้เข้าใจถึงนักวิทยาศาสตร์ไทย ที่มีความเชียวชาญ แบบไม่แพ้ชาติใดในโลก
ท้ายสุด ขอฝากคำพูดจาก ดร.จารุวัฒน์ ได้กล่าวเกี่ยวกับระบบนิเวศของปลาหมึกไว้ว่า
“ส่วน
ของระบบนิเวศของปลาหมึกในประเทศไทย ซึ่งเคยมีความอุดมสมบูรณ์
แต่ปัจจุบันด้วยสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป น้ำเสื่อมสภาพ
ผนวกกับมีการจับเพื่อการบริโภคมากขึ้น ด้วยปริมาณของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น
จึงเป็นสาเหตุทำให้ทรัพยากรปลาหมึกลดน้อยลง ทั้งนี้ทั้งนั้น
การรักษาทรัพยากรนี้ให้ยั่งยืนขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของทุกคน
ในการร่วมกันอนุรักษ์”
0 comments:
Post a Comment